ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันยานพาหนะติดตั้งระบบ GPS เป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูล GPS เหล่านี้มีประโยชน์ต่อคาดการณ์ปริมาณต่าง ๆ ทางจราจรเช่น เวลาเดินทาง (Travel Time) ความต้องการใช้ถนน (Traffic Demand) ปริมาณสภาพจราจร (Traffic Volume) ห้องปฏิบัติการ ITS จึงนำข้อมูล GPS มาประมาณเวลาเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งช่วยวางแผนเดินทางอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะอื่น ๆ เช่น ระบบคาดการณ์เวลาเข้าป้ายของรถโดยสาร ระบบคาดการณ์จุดจอดที่เหมาะสมสำหรับรถแท็กซี่ เป็นต้น
Feature
- ประมาณเวลาเดินทางในระดับช่วงถนน (Link) ช่วงถนน หมายถึง ส่วนของถนนย่อย ๆ เช่น จากทางแยกหนึ่งถึงอีกทางแยกหนึ่ง เพื่อประกอบเป็นเส้นทางที่ใหญ่กว่าได้
- ประมาณเวลาเดินทางบนช่วงถนนข้างเคียง บางชุดข้อมูล GPS ที่ได้รับอนุเคราะห์ มีความถี่ต่ำ ทำให้ไม่สามารถประมาณเวลาบนทุกช่วงถนนได้ ระบบนี้จึงช่วยประมาณเวลาเดินทางจากช่วงถนนข้างเคียงด้วย
ทดลองใช้ผลงาน
- Traffy นาที http://traffy.in.th/nt/
- API
- getLinkInfo บริการข้อมูลรายละเอียดของช่วงถนน
- getTravelTime บริการเวลาเดินทางของช่วงถนน
ร่วมสนับสนุนงานวิจัย
- ระดับบุคคลทั่วไป อนุเคราะห์ข้อมูล GPS แบบไม่ระบุตัวตนแก่ระบบ ผ่าน Application โทรศัพท์มือถือ
- ระดับบริษัท อนุเคราะห์ข้อมูล GPS ของรถในบริษัท
- ระดับบริษัทเก็บข้อมูล Tracking อนุเคราะห์ข้อมูล GPS ของบริษัทลูกค้าที่อนุญาติให้ใช้ข้อมูล
สายรถและเส้นทางที่มีข้อมูล
- เส้นทางสวทช. – ประตูเชียงราก 1 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต (เข้าและออก)
- เส้นทางสวทช. – ประตูเชียงราก 2 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต (เข้าและออก)
- เส้นทางสวทช. – ประตูพหลโยธิน ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต (เข้าและออก)
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต – ศูนย์การค้าฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต (ไปและกลับ)
- เส้นทางอนุสาวรีย์สมรชัยภูมิ – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต (ไปและกลับ)
ผลงานทางวิชาการ

จากข้อมูลพิกัดตำแหน่งที่ความถี่ต่ำและไม่คงที่


งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- Google Direction API ให้บริการข้อมูลเวลาเดินทาง จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง มีทั้งข้อมูล i) แบบฟรี 2,500 request ต่อวัน และ ii) แบบเสียเงิน 1,000 request 15 บาท
- Longdo Map API ให้บริการแผนที่แสดงข้อมูลจราจรและค้นหาเส้นทางสำหรับข้อมูลในประเทศไทย