โดยมนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม
เมื่อวันที่ 10 พ.ย.2558ผมไปดูการสาธิตใช้ GNSS ช่วยในการทำ machine control โดยในครั้งนี้เป็นการทำการเกลี่ยดินเพื่อทำถนน ซึ่งนำเสนอโดยบริษัท PASCO ของญี่ปุ่น (จัดที่จังหวัดชลบุรี)
องค์ประกอบมีดังนี้
1. รถเกลี่ยดิน (รูปที่ 1)
2. GNSS ความถูกต้องพิกัด 1 เซนติเมตรแนวราบและ 2 เซนติเมตรแนวดิ่ง มาติดที่รถเกลี่ยดิน (รูปที่ 1)
3. สถานีติดตามดาวเทียม (รูปที่ 2)
4. ระบบและซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมไฮโดรลิกในการยกแผ่นเกลี่ยดินขึ้นหรือลงแบบอัตโนมัติ (รูปที่ 3)
รถยังไม่ได้ขับเอง แต่จอมอนิเตอร์ในรถจะบอกว่าให้ขับไปทางไหนบ้าง และในส่วนแผ่นเกลี่ยดินจะปรับระดับเองอัตโนมัติ
ข้อดีของการใช้ Machine control
– ลดคนที่ต้องคอยช่วยตรวจและบอกคนขับในการปรับระดับดิน
– ลดเวลาการทำงานและเชื้อเพลิง (ญี่ปุ่นคำนวณให้ว่าประมาณ 22%)
– ทำงานกลางคืนหรือแสงน้อยได้
– ได้ระดับดินที่แม่นยำมากและประหยัดวัสดุถมดิน
– เกลี่ยดินบนเส้นทางซับซ้อนได้ เช่นโค้งหรือซิกแซกไปมา (แค่ใส่ค่าพิกัดที่ออกแบบไว้เข้าไปในระบบ)
ถาม 1) ทำไมรถไม่ขับเอง
ตอบ ในพื้นที่ก่อสร้างถนน มักจะยังไม่มีเส้นทางแน่นอน มีของระเกะระกะเยอะ และอาจมีสิ่งกีดขวางที่ไม่คาดคิดมากมาย จึงยากเกินไปที่จะทำให้รถขับเอง
ถาม 2) มีรุ่นที่รถขับเองได้ด้วยไหม
ตอบ มี แต่เป็นสำหรับงานเกษตรกรรมมากกว่า เพราะพื้นที่และสิ่งแวดล้อมควบคุมง่ายกว่า
ถาม 3) รถกับระบบควบคุม มาจากบริษัทเดียวกันไหม
ตอบ คนละบริษัท เป็นพาร์ทเนอร์กัน และถ้ามีบริษัทผลิตรถของไทยสนใจร่วมกับ PASCO เขาก็ยินดี
รูปที่ 1
รูปที่ 2
รูปที่ 3
สรุปสั้น ๆ ก็คือมันเป็นงาน automation นั่นแหละ เพียงแต่พอมี GNSS แล้วเลยทำให้สามารถทำนอกสถานที่ได้ ต่างจากเดิมที่ทำเฉพาะในโรงงานหรือห้องปิด หัวใจจริง ๆ อยู่ที่ซอฟต์แวร์ควบคุมเครื่องจักร ส่วน GNSS ทำหน้าที่แค่เซ็นเซอร์ตัวหนึ่งเท่านั้น
หมายเหตุ บริษัท PASCO เป็นบริษัทที่ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้ดำเนินการบริหารจัดการ เครือข่ายสถานีติดตามดาวเทียม GNSS ซึ่งมีกว่า 1300 สถานี และสถานีเหล่านี้ส่งข้อมูลมาประมวลผลรวมกันที่เครื่องแม่ข่ายของการภูมิ สารสนเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (Geospatial Information Authority of Japan: GSI) และให้บริการค่าแก้เพื่อให้คำนวณพิกัดจาก GNSS ละเอียดระดับเซนติเมตรได้