ระบบแสดงสภาพจราจร ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
ปัญหาและความสำคัญ
ป้ายจราจรอัจฉริยะ คือป้ายอัจฉริยะที่แสดงถึงสภาพจราจรบนถนนสายสำคัญต่างๆ ภายในกรุงเทพมหานคร ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง กรุงเทพมหานคร และ Forth Corporation โดยมีจุดประสงค์หลักคือแสดงข้อมูลสภาพจราจร ณ. ตำแหน่งนั้นๆ และบริเวณใกล้เคียง แก่ผู้โดยสารรถยนต์ เพื่อให้ผู้โดยสารรถยนต์้สามารถที่จะวางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นป้ายจราจรอัจฉริยะเพียง 1 ป้าย สามารถแสดงข้อมูลจราจรได้ในบริเวณจำกัด ส่งผลให้การวางแผนการเดินทางทำได้ในเส้นทางที่ป้ายจราจรอัจฉริยะแสดงอยู่ เพื่อจะได้รับข้อมูลจราจรในการวางแผนการเดินทางครั้งต่อไปนั้นผู้โดยสารรถยนต์อาจจะต้องเดินทางไปถึงยังที่ติดตั้งป้ายจราจรอัจฉริยะอันต่อไป จึงมีความไม่สะดวกในการใช้งาน จึงมีการพัฒนาโปรแกรม Traffy on Java ขึ้นเพื่อทำการแสดงป้ายจราจรอัจฉริยะผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลป้ายจราจรอัจฉริยะ แม้แต่เวลาที่เรากำลังขับรถอยู่ ก็สามารถที่จะใช้โปรแกรม Traffy on Java ตรวจสอบสภาพการจราจรที่เกิดขึ้นจริงในขณะนั้นได้ ยังผลให้ผู้ใช้งานโปรแกรมสามารถวางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้ครอบคลุมตลอดการเดินทาง ผ่านการใช้งานโปรแกรม Traffy on Java เพียงครั้งเดียว อีกทั้งผู้พัฒนาสามารถเพิ่มเติมสภาพจราจรของถนนสายอื่นๆ อาทิ เช่น เส้นทางหลวงและปริมณฑล ที่มีการใช้งานอย่างมากในเทศกาลต่างๆ
ลักษณะชิ้นงาน และ ความสามารถต่าง ๆ ของโปรแกรม
- โปรแกรมถูกพัฒนาด้วยภาษา Java บนสถาปัตยกรรม J2ME
- โปรแกรมถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับมือถือที่สามารถรองรับการทำงานของ Java ได้
- โปรแกรมสามารถแสดงป้ายจราจรอัจฉริยะทั้งหมดที่มีในกรุงเทพฯ จำนวน 40 ป้าย
- โปรแกรมสามารถแสดงป้ายจราจรอัจฉริยะสำหรับเส้นทางหลวงและเขตปริมณฑล จำนวน 5 ป้าย
- ผู้ใช้งานสามารถกำหนดหรือเรียกใช้ป้ายจราจรอัจฉริยะที่สนใจผ่านปุ่มหมายเลข 1 – 9 ได้
- โปรแกรมมีแถบแสดงรายชื่อของป้ายจราจรอัจฉริยะที่อยู่ในลำดับก่อนหน้าและลำดับหลังในแถบซ้ายมือและขวามือตามลำดับ
- ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้ป้ายจราจรอัจฉริยะในลำดับก่อนหน้าและลำดับหลังผ่านปุ่มกด ซ้าย – ขวาได้
การติดตั้ง
วิธีการใช้งาน
ตัวโปรแกรม TRaffy on Java ถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน และเข้าถึงข้อมูลสภาพจราจร ณ. ปัจจุบันผ่านทางโปรโตคอล General Packet Radio Service (GPRS) โดยสามารถที่จะใช้ได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าจอ
หน้าจอหลักของโปรแกรมจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

- ชื่อแผนที่จากป้ายจราจรอัจฉริยะ
- เวลาที่ทำการ update ข้อมูล
- ชื่อของแผนที่ถัดไป และ ก่อนหน้า ( สีฟ้า )
ปุ่มในการควบคุม

ปุ่มที่สามารถใช้ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของ Traffy on Java มีดังนี้
- ปุ่มลูกศร
- ลูกศรขึ้น ใช้เพื่อเลื่อนไปยังกลุ่มแผนที่ถัดไป
- ลูกศรลง ใช้เพื่อเลื่อนไปยังกลุ่มแผนที่ก่อนหน้า
- ลูกศรซ้าย ใช้เพื่อเลื่อนไปยังแผนที่ก่อนหน้า
- ลูกศรขวา ใช้เพื่อเลื่อนไปยังแผนที่ถัดไป
- ปุ่ม #
- ใช้เพื่อทำการโหลดข้อมูลแผนที่ใหม่
- ปุ่ม *
- ใช้เพื่อทำ favorite button โดยการกด * แล้วตามด้วยตัวเลข 1 ถึง 9
- ปุ่มเลข 0
- ใช้เพื่อซ่อน/แสดงชื่อแผนที่ และชื่อกลุ่มแผนที่ ที่อยู่รอบ ๆ
- ปุ่มตัวเลข 1 ถึง 9
- ใช้เพื่อเข้าถึงแผนที่ที่ได้ทำ favorite เอาไว้
ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง
- ข่าวจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก : ส่องเว็บ เรื่อง “จราจรบนเน็ต” อ่านรายละเอียด
- ข่าวจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก : ไอทีโซน เรื่อง “เนคเทค ยกป้ายจราจรไว้บนมือถือ” อ่านรายละเอียด
- ข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ : ไอที-วิทยาการ เรื่อง “รายงายจราจรอัจฉริยะ ดูได้..ผ่านมือถือ” อ่านรายละเอียด
- ข่าวจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ : เรื่อง “เนคเทครายงานจราจรผ่าน “เน็ต-มือถือ” อ่านรายละเอียด
- ข่าวจากหนังสือพิมพ์ TRANSPORT JOURNAL : เรื่อง “เนคเทคเร่งงานวิจัยโลจิสติกส์ ปรับโฉมใหม่จราจรอัจฉริยะ” อ่านรายละเอียด